เมนู

4. พราหมณสูตร



อริยมรรคเรียกชื่อได้ 3 อย่าง


[12] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์
ออกจากกรุงสาวัตถี ด้วยรถเทียมม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว
เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว ด้ามปฏักขาว ร่ม
ขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวัชนีที่ด้ามพัดก็ขาว ชน
เห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ
รูปของยานประเสริฐหนอ ดังนี้.
[13] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว
เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
เวลาเช้าข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี
ข้าพระองค์เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากกรุงสาวัตถี ด้วยรถม้าขาวล้วน
ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถ
ขาว เชือกขาว ด้ามปฏักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้า
ขาว พัดวาลวัชนีที่ด้ามก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้แล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์อาจทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในธรรมวินัยนี้ได้ไหมหนอ.

[14] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ อาจบัญญัติได้
คำว่ายานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 นี้เอง เรียก
กันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงความอันยอดเยี่ยมบ้าง.
[15] ดูก่อนอานนท์ สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ
เป็นที่สุด.
[16] ดูก่อนอานนท์ สัมมาสังกัปปะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด. มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัด
โมหะเป็นสุด.
[17] ดูก่อนอานนท์ สัมมาวาจาที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ
เป็นที่สุด.
[18] ดูก่อนอานนท์ สัมมากัมมันตะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัด
โมหะเป็นที่สุด.
[19] ดูก่อนอานนท์ สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ
เป็นที่สุด.
[20] ดูก่อนอานนท์ สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัด
โมหะเป็นที่สุด.
[21] ดูก่อนอานนท์สัมมาสติที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

[22] ดูก่อนอานนท์ สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ
เป็นที่สุด.
[23] ดูก่อนอานนท์ ข้อว่า ยานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริย-
มรรคประกอบด้วยองค์ 8 นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง
รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง นั้นพึงทราบโดยปริยายนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[24] อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ ศรัทธา
กับปัญญาเป็นแอก มีศรัทธาเป็นทูบ มีหิริ
เป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถี
ผู้ควบคุม รถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มี
ฌานเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ มี
อุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ ความไม่อยากได้
เป็นประทุน กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท
ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธ มี
ความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ พรหม
ยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของ
บุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นนัก-
ปราชญ์ ย่อมออกไปจากโลกโดยความแน่
ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้.
จบพราหมณสูตรที่ 4

อรรถกถาพราหมณสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในพราหมณสูตรที่ 4.
บทว่า สพฺพเสเตน วฬวาภิรเถน ความว่า ด้วยรถเทียมด้วยม้า
4 ตัวอันขาวล้วน. ได้ยินว่า รถมีล้อและซี่กงทั้งหมดได้หุ้มด้วยเงิน.
ก็ชื่อว่า รถมี 2 อย่าง คือ รถรบ 1 รถเครื่องประดับ 1 ในรถนั้น รถรบ
มีสัณฐานสี่เหลี่ยมไม่ใหญ่นัก สามารถบรรทุกคนได้ 2 คน หรือ 3 คน
รถเครื่องประดับเป็นรถใหญ่ คือ โดยยาวก็ยาว โดยกว้างก็กว้าง. คนถือร่ม
ถือวาลวัชนี ถือพัดใบตาล ย่อมอยู่ในรถนั้น ดังนั้นคน 8 คน หรือ 10 คน
สามารถเพื่อจะยืนก็ได้ นั่งก็ได้ นอนก็ได้ ตามสบายอย่างนี้นั่นแล แม้รถนี้
จัดเป็นรถเครื่องประดับ.
บทว่า เสตา สุทํ อสฺสา ความว่า ม้าขาวคือมีสีขาวตามปกติ.
บทว่า เสตาลงฺการา ความว่า เครื่องประดับของม้าเหล่านั้น ได้เป็นของ
สำเร็จด้วยเงิน. บทว่า สโต รโถ ความว่า รถชื่อว่าขาว เพราะหุ้มด้วยเงิน
และเพราะประดับด้วยงาในที่นั้น ๆ โดยนัยอันกล่าวแล้วแล. บทว่า เสตปริ-
วาโร
ความว่า รถเหล่าอื่นหุ้มด้วยหนังราชสีห์บ้าง หุ้มด้วยหนังเสือบ้าง
หุ้มด้วยผ้ากัมพลเหลืองบ้าง ฉันใด รถนี้หาเป็นฉันนั้นไม่. ส่วนรถนี้ ได้หุ้ม
ด้วยผ้าอย่างดี. บทว่า เสตา รสฺมิโย ความว่า เชือกอันหุ้มด้วยเงินและ
แก้วประพาฬ. บทว่า เสตา ปโตทลฏฺฐิ ความว่า แม้ด้ามปฏักก็หุ้ม
ด้วยเงิน.
บทว่า เสตํ ฉตฺตํ ความว่า แม้ร่มอันเขาให้ยกขึ้นในท่ามกลางรถ
ก็ขาว. บทว่า เสตํ อุณฺหีสํ ความว่า ผ้าโพกทำด้วยเงินกว้าง 7 นิ้วก็ขาว.